วิธีทำน้ำหมักปลากัด หมักด้วยอะไร มีกี่สูตร ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีใช้ น้ำหมักใบหูกวาง!
การทำน้ำหมักปลากัดแต่ละสูตร มีสรรพคุณแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและปริมาณที่ใช้ ซึ่งวัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้ทำน้ำหมักปลากัด มีหลายชนิด การเลือกใช้วัตถุดิบแต่ละชนิดมาทำน้ำหมักปลากัด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เลี้ยงปลากัด ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น ใบหูกวาง ใบตอง ใบฝรั่ง ใบสัก เปลือกมังคุด ดินปลวกดำ ใบมะละกอ ว่านใบพาย งวงตาล เป็นต้น
วิธีทำน้ำหมักปลากัด มีกี่สูตร วิธีใช้
ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงปลากัด วัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำหมักปลากัดและขั้นตอนการทำน้ำหมักที่ใช้สำหรับเลี้ยงปลากัด ในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตน้ำยาสำเร็จสูตรต่างๆ สำหรับใช้กับปลากัดโดยเฉพาะ ซึ่งสะดวก ปลอดภัย ได้ผลรวดเร็วทันใจ และได้ผลดีเกินคาด มีให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ
น้ำหมักใบหูกวาง น้ำหมักปลากัดยอดนิยม
ใบหูกวางเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำน้ำหมักสำหรับเลี้ยงปลากัดเป็นอันดับ 1 วิธีการทำน้ำหมักใบหูกวางนั้น ควรเลือกใบหูกวางที่แห้งอยู่คาต้นหรือร่วงหล่นลงจากต้นใหม่ๆ คือยังไม่แห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลแต่ยังเป็นสีเขียวน้ำตาลแก่หรือม่วงน้ำตาลแก่
นำใบหูกวางเหล่านั้นมาล้างและทำความสะอาดแล้วจึงนำไปตากให้แห้งสนิท จนใบหูกวางจะแห้งกรอบมีสีน้ำตาล นำใบหูกวางที่ตากแห้งสนิทไปใส่ในโหลปลากัดที่ต้องการหมักโดยใส่ลงไปสัก 2-3 ใบ หรือบางคนอาจฉีกใบให้เป็นฝอยเล็กๆ ก่อนจึงใส่ลงไป ทิ้งไว้จนยางน้ำจากใบหูกวางเริ่มเปลี่ยนสี
ช่วงแรกที่เราหมักปลากัดอาจจะให้น้ำหมักมีสีเข้มหรือน้ำตาลเข้มสัก 3-4 วัน หลังจากนั้นควรทอนน้ำให้สีน้ำหมักจางลงเรื่อยๆจนเป็นสีชาอ่อน ใช้หมักหรือเลี้ยงทำตัวปลากัดได้
ไม่ควรหมักน้ำเข้มแล้วทิ้งหมักปลานานเกินไป เพราะน้ำหมักจะกัดตัวปลาและครีบต่างๆ รวมไปถึงเกล็ดลำตัว ทำให้ปลาตัวแข็งว่ายน้ำไม่คล่องแคล่วและเชื่องช้าเวลาลงต่อสู้ ที่สำคัญเวลาหมักใบหูกวาง(น้ำสีชาอ่อน) ควรใส่เกลือสำหรับฆ่าเชื้อโรคด้วย
น้ำหมักใบตองแห้ง หาง่าย ใช้งานได้ดี
ใบตองน้ำ เป็นใบตองแห้ง จากต้นกล้วยน้ำว้า ซึ่งเราจะคัดเลือกแต่ใบตองที่แห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแก่ก็ได้ นำมาล้างทำความสะอาดแล้วนำมาตากแดดต่อให้แห้งสนิท
จากนั้นเราจะนำมาฉีกเป็นเส้นฝอยๆ หรือฉีกใส่ทั้งใบ ให้เหมาะสมกับขนาดของเหลี่ยมที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัด ก็ได้ โดยใบตองน้ำนี้จะมีคุณประโยชน์คือ ช่วยให้เกล็ดของปลากัดแน่นกระชับ และแข็งแรงทนทานมากขึ้น โดยเราอาจจะหมักไว้ในเหลี่ยมปลากัดสัก 3-7 วัน ก็ได้
น้ำหมักใบฝรั่ง บำรุงเกล็ดให้แข็งแรงเงางาม
วิธีทำน้ำหมักใบฝรั่ง นำใบฝรั่งที่เก็บได้มาทำความสะอาดแล้วนำไปตากแดดให้แห้งกรอบสนิทแล้วนำมาหมักกับน้ำเลี้ยง ปลากัดโดยใบฝรั่งนี้จะช่วยเรื่องหนังและเกล็ดปลาให้แข็งแรงและขึ้นเงาเป็นประกายมันสวยงามอีกด้วย
น้ำหมักใบสัก หนังหนาและความทนทาน
ใบสัก ควรจะนำใบสักที่แห้งสนิทนี้มาทำความสะอาดเสียก่อน หลังจากนั้น จึงจะสามารถนำไปตากให้แห้งสนิทอีกครั้ง แล้วนำมาใช้หมักปลากัด โดยใบสักนี้จะช่วยในเรื่องของหนังและความทนทาน แต่ไม่ควรจะใส่มากจนน้ำหมักมีสีแก่จัด เพราะยางจากน้ำหมักใบสักจะกัดตัวปลา กัดและอาจทำให้ปลากัดตาบอดหรือเมายางจากน้ำหมักแล้วเสียชีวิตได้
น้ำหมักเปลือกมังคุด
เปลือกมังคุดคัด เอาเปลือกมังคุดที่มีสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลเข้มก็ได้ นำมาทำความสะอาดแล้วตากแดดจนแห้งสนิท จากนั้นจะห่อผ้าขาวแล้วทุบให้ละเอียด เพื่อบีบเอาแต่น้ำยาง
นำเปลือกมังคุดที่ตากแห้งเตรียมไว้ไปแช่น้ำทั้งเปลือกแล้วรอจนน้ำหมักกลายเป็นสีแดงส้มหรือน้ำตาลแดง แล้วนำเอาน้ำมาทอนน้ำให้สีเจือจางลงก่อนนำไปหมักปลากัดก็ได้ ไม่ควรใช้น้ำหมักสีเข้มเกินไปเพราะยางจากน้ำหมักอาจกัดตัวปลาหรือปลาอาจช็อคเมาน้ำหมักตายได้ในที่สุด
น้ำหมักดินปลวกดำ หนังเหนียว ทนทาน
ดินปลวกดำ ควรเลือกเฉพาะดินที่มีปลวกดำปนอยู่บ้าง แต่ไม่ต้องมากนักเพราะตัวปลวกดำสามารถให้ปลากัดกินเป็นอาหารเสริมได้ แต่ไม่ควรให้ลูกปลากิน
นอกจากนี้น้ำหมักจากดินปลวกดำยังช่วยหมักทำให้ปลากัดมีหนังที่เหนียวแข็งมากขึ้นและยังสามารถทนทานต่อการกัดจากคู่ต่อสู้ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
โดยจะนำดินปลวกไปใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วใส่น้ำในปริมาณพอสมควรรอจนน้ำหมักเป็นสีเหลืองอ่อน จึงทอนเอาแต่น้ำหมักไปใช้หมักปลากัด แต่ไม่ควรใช้น้ำหมักที่มีปริมาณเข้มข้นจนเกินไปเพราะน้ำหมักอาจทำให้ปลากัดตาบอดได้
น้ำหมักใบมะละกอ ช่วยรักษาแผล
ใบมะละกอ ควรที่จะนำใบมะละกอมาทำความสะอาดก่อน หลังจากนั้นนำใบมะละกอไปตากจนใบมะละกอแห้งกรอบมีสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลอ่อน จากนั้นนำมาแช่น้ำจนยางจากใบมะละกอออก เป็นสีน้ำตาลหรือชาอ่อน แล้วนำกระชอนมากรองเอาแต่น้ำหมักมาใช้หมักปลากัด
ควรใส่เกลือฆ่าเชื้อโรคลงไปนิดหน่อยน้ำหมักจะช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับปากหรือปากที่เป็นแผลอันเกิดจากการต่อสู้ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาแผลช่วงใบหน้า ตา ปากและเกล็ดตามลำตัว ถ้าเกิดอยากให้ปลากัดหายเร็วขึ้น ภาชนะที่ใช้หมักปลาควรใส่ดินเหนียวที่ทอนน้ำเป็นสีชาอ่อนไว้จะได้ผลดีมากขึ้น
ว่านใบพาย
ว่านใบพายเป็นพืชน้ำที่สามารถแช่อยู่ในน้ำได้โดยไม่เน่าเปื่อยและยังเป็นที่หลบพักนอนของปลากัดในระยะพักฟื้นหรือช่วงทำตัวก่อนออกกัดได้ดี ควรใส่ว่านใบพายในบ่อหรือภาชนะที่สูงพอสมควรเพื่อให้ว่านสามารถงอกออกอีกได้
ประโยชน์นั้นก็คือทำให้ปลากัดสบายตัวและมีความทนทานต่อการกัดของคู่ต่อสู้ได้ดีขึ้นหนังมีความเหนียวแข็งแรงดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกล็ดเรียงกระชับเป็นประกายสวยงาม
ดินเหนียว
ดินเหนียว ควรนำดินเหนียวนั้นมาทำความสะอาดหรือตากแดด เพื่อเป็นการกำจัดสิ่งสกปรกหรือแมลงบางประเภทที่ปะปนอยู่เป็นการฆ่าเชื้อโรคได้ส่วนหนึ่งด้วย
จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็กหรือจะใส่ลงในบ่อหรือภาชนะที่ใช้หมักปลา หากใส่เหลี่ยมหมักอาจใส่เพียง 4-6 ก้อนต่อเหลี่ยม ตามความเหมาะสมจนน้ำดินเหนียวเริ่มที่จะออกสีจางแล้วจึงใส่ปลาลงไป อาจจะใช้คู่กับว่านใบพายหรือน้ำหมักอย่างอื่น ในอัตราส่วนที่พอเหมาะด้วยก็ได้
น้ำหมักบอระเพ็ด
บอระเพ็ดให้ตัดกิ่งบอระเพ็ดเป็นท่อนเล็กๆ ไม่ควรนำกิ่งที่แข็งหรือแก่จนเกินไปนำมาตัดยาวท่อนละ 1 นิ้วหรือ 2 นิ้ว ล้างทำความสะอาด แล้วจึงนำไปตากจนกิ่งบอระเพ็ดนั้นแห้งสนิทหรือเริ่มเหี่ยวลง ไม่ควรใช้บอระเพ็ดสด
จากนั้นนำบอระเพ็ดนั้นมาใส่ภาชนะหรือบ่อที่ใส่น้ำเตรียมไว้ปิดฝาแช่น้ำหมักบอระเพ็ด ระยะเวลายิ่งแช่บอระเพ็ดนานยิ่งดี บางคนอาจใช้ระยะเวลาหมักข้ามเดือนหรือข้ามปีเลยก็มี
จากนั้นให้นำน้ำหมักนั้นมากรองเอาแต่น้ำหมักบอระเพ็ด ทอนน้ำหมักให้สีอ่อนหรือจางลงก่อนจากนั้นจึงไปใช้หมักปลาได้ โดยค่อยๆ ใส่ลงไปทีละน้อย อย่าให้น้ำมีสีเข้มเกินไปเพราะจะทำให้ปลากัดปรับตัวไม่ทันและแสบตัวหรืออาจเมาน้ำหมักบอระเพ็ดตาย
ประโยชน์คือปลากัดที่หมักน้ำบอระเพ็ดนี้ เนื้อตัวจะมียางบอระเพ็ดติดตามตัวและเกล็ด เมื่อคู่ต่อสู้กัดจะมีอาการแพ้ยางหรือเมายางบอระเพ็ด อาจแพ้หรือเสียปลาได้ ซึ่งสูตรทำน้ำหมักนี้นักเล่นปลาแต่ละคนจะมีวิธีการหรือใส่สูตรเพิ่มเติมตามความถนัดของแต่ละคน ซึ่งจัดเป็นสูตรเฉพาะตัว ซึ่งบางคนจะไม่บอก จัดว่าเป็นกลโกง
ว่านต้นเมา
ว่านต้นเมา เป็นพืชน้ำที่ขึ้นตามแหล่งน้ำตกหรือบึงบางแห่ง เป็นพืชที่มียางเมาอยู่ในตัว เมื่อนำมาใช้กับปลากัดควรจะค่อยๆใส่เข้าไปทีละนิด เพื่อให้ปลากัดได้ปรับตัว โดยเมื่อปลากัดคุ้นเคยแล้ว มักจะชอบซุกอยู่ใต้ใบไม้ซึ่งลอยอยู่ผิวน้ำคล้ายใบจอกหรือใบบัว
ยางจากต้นเมาจะซึมเข้าตัวปลาไปทีละเล็กทีละน้อย เมื่อนำปลากัดที่หมักด้วยวิธีนี้ไปลงสู่สนามประลอง เมื่อเทปลากัดของเราลงไป ควรมีน้ำหมักนี้ลงไปด้วยพร้อมกับปลากัดด้วยเมื่อคู่ต่อสู้เข้ามาต่อสู้กัดกันไปไม่นานจะเกิดอาการเมายางและแพ้ได้ นักเล่นปลากัดที่มีการระมัดระวังการโกง
มักจะใช้กระชอนตักที่แห้งซึ่งจะตักติดแต่ปลาไม่มีน้ำ เพื่อป้องกันการโกงประเภทนี้ แต่บางคนอาจใช้ผงชูรสหย่อนลงไปในเหลี่ยมแทนก็ได้ เป็นเทคนิคการโกงอีกวิธีหนึ่ง
น้ำหมักงวงตาล
งวงตาล วิธีการหมักงวงตาลนี้ บางคนจะใช้หมักตั้งแต่ลูกปลายังตัวเล็กๆ อยู่ เพื่อให้ยางจากงวงตาลนั้นซึมเข้าตัวปลา ช่วยทำให้ตัวปลามีความแข็งแรงและทนทานมากยิ่งขึ้น หรือบางคนอาจใช้หมักปลาตอนจะเริ่มทำเนื้อตัวก่อนการประลองซัก 1 อาทิตย์ ถึง 1 เดือนขึ้นไป
ผงแร่ธาตุ
ผงแร่ธาตุ เป็นผงแร่ที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ และสารวิตามินบางชนิดปนอยู่ ใช้หมักเพื่อให้ผงแร่นั้นเกาะตามตัวปลา เพื่อช่วยในการทำเกล็ดปลากัดนั้นให้แข็งแรงและเงาประกายสวยงาม หนังปลามีความเหนียวเพิ่มขึ้น ทำให้ทนทานต่อการกัดเข้าเนื้อยากขึ้น
เพราะเกล็ดและหนังจะมีความแข็งและหนามาก แต่ถ้าหากใส่มากจนเกินไปหรือหมักผิดวิธีก็จะเกิดผลเสียแก่ตัวปลากัดนั้นเช่นกัน เพราะจะทำให้การเคลื่อนไหว การหลบหลีกเชื่องช้าลงเพราะปลากัดตัวแข็ง เอี้ยวตัวได้ยาก ผงแร่ธาตุนี้นักเล่นปลากัดบางคนที่ยังขาดความรู้ ความช านาญจึงไม่ค่อยกล้าใช้กันมากนัก
นอกจากที่แนะนำมาแล้ว ยังมีสูตรสมุนไพรอื่นๆ อีกหลายอย่างซึ่งสูตรหมักปลากัดนี้ นักเล่นปลามักจะปกปิดเป็นสูตรลับเฉพาะตัว ไม่ค่อยบอกผู้อื่น นักเล่นปลาที่มีความรู้ ความชำนาญหรือช่างสังเกตจึงจะดูรู้ได้ว่าปลากัดของคู่ต่อสู้นั้น ถูกเลี้ยงมาดีหรือมีผิวพรรณเนื้อตัวดีแค่ไหน ถ้าไม่แน่ใจจะได้หลบเลี่ยงไม่ประลอง ทั้งนี้การหมักปลากัดก็ยังมีเคล็ดลับตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงวัยประลองพร้อมรบและอีกมากมาย
นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตน้ำยาสำเร็จสูตรต่างๆ สำหรับใช้กับปลากัดโดยเฉพาะ ซึ่งสะดวก ปลอดภัย ได้ผลรวดเร็วทันใจ และได้ผลดีเกินคาด มีให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ หากใครสนใจลองไปดูได้ที่ link นี้เลยจ้า