วิธีการให้อาหารสุนัขป่วย สุนัขพักฟื้นหลังผ่าตัด ต้องดูแลยังไง..!

การจัดการอาหารในสุนัขป่วย และสุนัขพักฟื้นหลังการผ่าตัด มาศึกษาแนวทางการจัดการอาหารและโภชนาการสำหรับสัตว์ป่วยและสัตว์หลังผ่าตัดอย่างถูกต้อง

อาหารสุนัขป่วย พักฟื้นหลังผ่าตัด

สารอาหารมีความสำคัญสำหรับสัตว์ระหว่างพักฟื้นจากความเจ็บป่วย หรือภายหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีรายงานว่าการเสริมสารอาหารตั้งแต่สัตว์เริ่มป่วยสามารถลดระยะการพักฟื้นได้จริง ทั้งในคน (Chambrier and Sztark, 2012, Seron-Arbeloa et al., 2011) และในสุนัข (Liu et al., 2012) จึงมีการแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับการเสริมสารอาหารในสัตว์ป่วย ดังต่อไปนี้  

การได้รับสารน้ำ พลังงาน และสารอาหารอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วง 14 วัน จากที่เริ่มป่วย หรือหลังผ่าตัด เนื่องจากมีผลต่อทั้งการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การให้อาหารทางการกินนั้นดีกว่าการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ เนื่องจากการกินอาหารนั้นช่วยกระตุ้นการทำงานของทางเดินอาหาร และลดการเกิด bacterial translocation (Chung et al., 2013)

วิธีการให้อาหารสุนัขป่วย สุนัขพักฟื้นหลังผ่าตัด

ในสัตว์ที่ขาดอาหารจะมีการปรับระบบเมตาบอลิสม (metabolism) โดยการสลายไกลโคเจน (glycogen) จากตับ และกล้ามเนื้อออกมาใช้ก่อน แต่หากไกลโคเจนในร่างกายขาดแคลนนานกว่า 24 ถึง 48 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มดึงเอาไขมันมาใช้ หากไขมันถูกใช้ไปจนหมด โปรตีนจะถูกดึงมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งกระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ชั่วโมงแรกของการขาดสารอาหาร แต่จะเกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อมีภาวะขาดอาหารมาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ (Saker and Remillard, 2010)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

นอกจากนี้อัตราเมตาบอลิสม (metabolism) ก็ช้าลงด้วย เนื่องจากอินซูลิน (insulin) ทำงานลดลง ส่งผลให้อัตราเร็วในการเปลี่ยนจากไทรอกซิน (thyroxine) เป็นไตรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine) ช้าลง ทำให้สัตว์สามารถกักตุนพลังงานไว้ได้มากขึ้น ภาวะนี้เรียกว่าไฮโปเมตาบอลิสม (hypometabolism) (Daley and Bistrian, 1994, Walton et al., 1996) 

สำหรับสัตว์ที่ป่วย หรือเพิ่งผ่านการผ่าตัด ระบบฮอร์โมนที่ถูกกระตุ้นจะเป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด (stress hormone) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ถูกกระตุ้น ส่งผลให้ระบบฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบเลือดมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เมตาบอลิสม (metabolism) ของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เรียกว่าเป็นภาวะไฮเปอร์เมตาบอลิสม (hypermetabolism)

โดยพบว่าสัตว์ต้องใช้เวลาเฉลี่ย 14 วันในการฟื้นตัวจากการป่วย หรือการผ่าตัด และระยะเวลา 14 วัน นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ตามระดับการเมตาบอลิสมที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ 

ระยะที่ 1 คือ ระยะ 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรกของการเจ็บป่วย หรือการผ่าตัด ร่างกายต้องเผชิญภาวะไฮโปเมตาบอลิสม (hypometabolism) : เนื่องจากในสัตว์ป่วยส่วนมากมักมีความอยากอาหารที่ลดลง (anorexia) ทำให้เข้าสู่ภาวะขาดสารอาหาร ส่วนสัตว์ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดนั้น ระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนของการสลบ ร่างกายจะทำงานด้วยพลังงาน และออกซิเจนที่ต่ำกว่าปกติ ส่งผลต่ออัตราเมตาบอลิสม (metabolism) การสูบฉีดเลือดของหัวใจ และการใช้ออกซิเจนที่ลดลงกว่าปกติด้วยเช่นกัน ดังนั้นในระยะนี้การคงสภาวะสมดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยอาจจะสำคัญมากกว่าการเสริมพลังงานเสียอีก อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ การเสริมสารอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหาร เพราะการที่เลือดไปเลี้ยงทางเดินอาหารลดลงจะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) และแคติโคลามีน (catecholamines) หลั่งออกมามาก ส่งผลให้เกิดไฮเปอร์เมตาบอลิสม (hypermetabolism) ได้ในอนาคต ดังนั้นในระยะที่ 1 สิ่งที่ควรมุ่งเน้นคือควรให้สัตว์กินอาหารและน้ำให้ได้เร็วที่สุด (Desborough, 2000; Otani, 2003, Yoshikawa, 1996) 

ระยะที่ 2 คือระยะตั้งแต่วันที่ 3 เป็นต้นไป : ในระยะนี้อัตราเมตาบอลิซึม การขับทิ้งของเสียจากเซลล์ และความต้องการออกซิเจนจะเพิ่มขึ้นร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น (WASAWA, 2013) หรือที่เรียกว่าไฮเปอร์เมตาบอลิสม (hypermetabolism) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถูกกระตุ้นให้เกิดโดยสารสื่ออักเสบในร่างกาย ส่งผลให้มีการสลายโปรตีนเพื่อนำมาสร้าง acute-phase โปรตีน และอิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) และนำมาใช้ในการหายของแผล ดังนั้นในระยะนี้สิ่งสำคัญคือการเสริมพลังงาน และโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจต้องหลีกเลี่ยงการให้อาหารทางทางเดินอาหาร (enteral feeding) ในรายที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารอย่างรุนแรง มีการบิดของทางเดินอาหาร ในรายที่มีอาการท้องผูกอย่างรุนแรง มีการอุดตันของทางเดินอาหาร หรือมีการอาเจียนอย่างรุนแรง (Seike et al.,2011) อีกทั้งยังมีข้อแนะนำว่าการเสริมอาร์จีนีน (arginine), กลูตามีน (glutamine), กรดไขมันโอเมก้า-3 (omega-3) และพรีไบโอติก (prebiotics) มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดระยะเวลาการฟื้นตัวจากอาการป่วย และการบาดเจ็บได้ (Laesen and Perea,2011)

ในมนุษย์มีการทดลองเสริม arginine ขนาด 0.47 กรัม ต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหาร พบว่าสามารถช่วยส่งเสริมการทำงาน และการเพิ่มจำนวนของ T-helper เซลล์ ในรายที่ได้รับบาดเจ็บ และติดเชื้อได้ (Bower et al.,1995; Goffschlish et al.,1990) ส่วนปริมาณของอาร์จีนีน (arginine) ในอาหารของสุนัขและแมวป่วยนั้นแนะนำให้อยู่ระหว่าง 0.5-0.74 กรัมต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหารอาร์จีนีน (arginine) ช่วยส่งเสริมการหายของแผล และส่งเสริมกระบวนการเปลี่ยนแอมโมเนีย (ammonia) เป็นยูเรีย (urea) (Evoy et al.,1998) นอกจากนี้มีการทดลองในหนูแรทพบว่าเมื่อทำการเสริมอาร์จีนีน (arginine) ในอาหาร ทำให้หนูแรท ทำให้สามารถสังเคราะห์ acute-phase โปรตีน ได้มากขึ้น (Leon et al.,1991)

กลูตามีน (glutamine) เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งที่ช่วยทำให้เซลล์เยื่อบุลำไส้ (enterocyte) แข็งแรง โดยเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับเซลล์เยื่อบุลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยในการเพิ่มความไวต่ออินซูลิน (insulin) ของเซลล์ โดยการเพิ่มความเข้มข้นของ glucagon-liked peptide-1 (Greenfeld et al.,2009) อีกทั้งช่วยส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์กลูตาไธโอน (glutathione) ซึ่งช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระรวมถึงช่วยส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Duggan et al.,2002) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่บ่งชี้ว่า glutamine สามารถช่วยเรื่องการหายของแผลได้จริง (Klimberg et al.,2004; O’Dwyer et al.,1989; Ligthart et al.,2007) ในภาวะที่สัตว์มีความเครียด โดยเฉพาะความเครียดจากการผ่าตัด จะไม่สาสามารถสังเคราะห์กลูตามีน (glutamine) ได้เต็มที่ อีกทั้งในภาวะที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วเช่นจากการหายของแผล หรือการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ เซลล์ไฟโบรบลาส (fibroblast), ลิมโฟไซต์ (lymphocytes), หรือเซลล์เยื่อบุลำไส้จะมีความเข้มข้นของเอนไซม์กลูตามิเนส (glutaminase) ค่อนข้างสูง ส่งผลให้กลูตามีน (glutamine) ในร่างกายถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว การเสริมกลูตามีน (glutamine) ในสัตว์ป่วยจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่างไรก็ตามขนาดในการเสริมในอาหารนั้นยังไม่มีแน่ชัด แต่มีการแนะนำไว้ที่มากกว่า 0.5 กรัม ต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหาร ซึ่งพบว่าอาหารสำหรับสัตว์ป่วยทั่วไปจะประกอบด้วย กลูตามีน (glutamine) ขนาด 1.22 กรัม ต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหาร

กรดไขมันโอเมก้า-3 (omega-3) ที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นตัวของสัตว์ได้แก่ EPA และ DHA ดังนั้นในการพิจารณาเลือกอาหารที่เหมาะสม ให้พิจารณาถึงระดับของ EPA และ DHA เป็นหลัก ไม่ควรมองเพียงระดับโอเมก้า-3 (omega-3) ในอาหารเท่านั้น นอกจากนี้ระดับของแอนติออกซิแดนซ์ (antioxidant) ควรจะมีมากพอ โดยทั่วไปไม่แนะนำใช้น้ำมันตับปลาเนื่องจากมีวิตามินเอ และ ดี ในระดับที่สูงเกินไป (Lenox et al.,2013) ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสรรพคุณที่สำคัญของโอเมก้า-3 (omega-3) คือลดการอักเสบ นอกจากนั้นยังสามารถลดการทำงานของ tumor necrosis factor และอินเตอร์ลิวคิน 1 (interleukin 1) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร (anorexia) และภาวะขาดสารอาหาร (cachexia) (Johnson et al., 1993) ขนาดที่แนะนำในการเสริม EPA และ DHA สำหรับสุนัขและแมว อยู่ระหว่าง 0.10-0.28 กรัม ต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหารและ 0.10-0.76 กรัม ต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหาร ตามลำดับ (Bauer,2011) ซึ่งในอาหารสัตว์ป่วยจะมีระดับของ EPA และ DHA ประมาณ  0.18-0.59 กรัม ต่อ 100 Kcal ของพลังงานในอาหาร

โดยอาหารสำหรับสัตว์ป่วย จะต้องมีระบุส่วนประกอบในอาหารเอาไว้ในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ ทำให้คุณหมอสามารถคำนวณสัดส่วนย้อนกลับได้ ว่ามีองค์ประกอบของสารอาหารครบถ้วนตามปริมาณที่แนะนำหรือไม่ เช่น อาหารสูตร Recovery มีปริมาณกลูตามีน (glutamine) 1.5 กรัม อาร์จีนีน (arginine) 0.7 กรัม EPA และ DHA 0.45 กรัม ต่ออาหาร 116 Kcal ถ้าคำนวณสัดส่วนต่อ 100 Kcal จะได้เป็น 0.7 กรัม 1.29 กรัม และ 0.39 กรัม ตามลำดับ ซึ่งตรงตามปริมาณที่แนะนำ

นอกจากการเสริมสารอาหารที่จำเป็นให้กับสัตว์ป่วยแล้ว สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือวิธีการที่จะส่งเสริมให้สัตว์ยอมกินอาหาร สำหรับสัตว์การที่จะต้องอยู่รักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้นเป็นการเพิ่มความเครียดอย่างมาก การจัดสภาวะแวดล้อมให้ผ่อนคลาย การดูแลที่เหมาะสม และช่วงกลางวัน-กลางคืนภายในห้องพักเป็นเรื่องสำคัญ (Hand et al., 2011) ในช่วงแรกแนะนำให้ใช้อาหารที่เคยได้รับที่บ้านก่อน แทนที่จะให้อาหารที่ควรจะต้องได้รับ เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะหวาดระแวงต่อสิ่งใหม่ (neophobia) ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ยากต่อการเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่เหมาะสมได้ อีกทั้งไม่แนะนำให้ให้อาหารหลายๆ แบบในเวลาเดียวกัน อาหารสำหรับสัตว์ป่วยนั้นจะมีความน่ากินค่อนข้างสูง กล่าวคือมีกลิ่นหอม มีส่วนประกอบของน้ำที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำที่สัตว์ได้รับ รวมถึงมีปริมาณไขมัน และโปรตีนที่สูงกว่าอาหารปกติ (Sachdeva et al., 2013) 

สำหรับแมวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างยึดติดกับรสสัมผัสของอาหารมาก หากได้รับอาหารเม็ดมาตั้งแต่เล็ก แมวมีโอกาสที่จะยอมกินอาหารเม็ดเองมากกว่าอาหารเปียก นอกจากนี้การให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร เช่น cyproheptadine, mirtazapine, corticosteroids และ diazepam ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ การให้ยาเหล่านี้ต้องพิจารณาตามสภาวะ และอาการป่วยของสัตว์ด้วยเป็นสำคัญ (Corbee and Kerkhoven, 2014)

บทความโดย สพ.ญ. ฐิตา เตโชฬาร READVPN

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำสินค้าสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง ของใช้สัตว์เลี้ยง ขนมและอาหารสัตว์เลี้ยง ราคาถูก สินค้าขายดี ยอดนิยม ยี่ห้อไหนดี มีแบบไหนบ้าง ที่ได้รับความนิยม จาก คนรักสัตว์เลี้ยง

Popular Posts

วิธีทำน้ำหมักปลากัด หมักด้วยอะไร มีกี่สูตร ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีใช้ น้ำหมักใบหูกวาง!

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง เปลี่ยนน้ำบ่อยไหม? ชอบกินอะไร อาหารปลาหางนกยูง ราคาถูก!

เลี้ยงปลากระดี่สวยงาม พันธุ์ต่าง ๆ ปลากระดี่ของไทย มีกี่ชนิด...!

วิธีเลี้ยง ปลาแขยงหิน (กดหิน,แค้หมู) กินอาหารอะไร ลักษณะ...!

วิธีเพาะลูกน้ำให้ปลากัด ไว้ใช้เอง เลี้ยงลูกน้ำกินอะไรเป็นอาหาร.!

วิธีเลี้ยงหนูดัมโบ้แรท Dumbo rat เลี้ยงง่าย ฉลาดมาก น่าเลี้ยง..!

วิธีสกัดสารแทนนินจากใบหูกวาง น้ำหมักใบหูกวาง เลี้ยงปลากัด.!

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงทุน ธุรกิจโรงแรมแมว Cat Hotel รับฝากแมว..!

มาตรฐานสายพันธุ์ แมวมันช์กิ้น (Munchkin) แมวขาสั้น พันธุ์แท้.!

ปลากัดป่า ธรรมชาติ พันธุ์พื้นเมืองไทย ปลากัดป่าแท้ มีกี่ชนิด!

แนะนำสินค้าสัตว์เลี้ยง Pet lovers

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมว การเลือกซื้ออาหารและอุปกรณ์คุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ อาหารควรเลือกสรรอย่างพิถีพิถันเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์เลี้ยง ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคภัยที่เกิดจากอาหารไม่เหมาะสมและคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ อุปกรณ์สัตว์เลี้ยงยังจำเป็นสำหรับการดูแลสุขอนามัยของสัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระอย่างถูกสุขลักษณะ ขอบคุณที่ไว้วางใจให้ เพ็ทเดเตอร์ (Petdator) ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความปลอดภัยและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับสัตว์เลี้ยงที่รักของคุณ

อาหารสัตว์เลี้ยง & อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง ใน เพ็ทเดเตอร์ มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง?

ในบล็อกเพ็ทเดเตอร์นี้ เรารวบรวมข้อมูลสินค้า อาหารสัตว์เลี้ยง และอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง หลากหลายชนิด ให้เลือกหาข้อมูล ราคา และสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ร้านค้าทางการ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะได้รับสินค้าคุณภาพดีเยี่ยมเท่านั้น เพราะเราคัดสรรสินค้าคุณภาพมาเพื่อสัตว์เลี้ยงของคุณโดยเฉพาะ สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ในเพ็ทเดเตอร์ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ดังนี้

อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Foods): การเลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะอาหารที่ดีจะช่วยให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งในเพ็ทเดเตอร์ มีอาหารหลากหลายชนิด เช่น อาหารเปียกและอาหารเม็ดสำหรับสุนัข/แมว สูตรต่างๆ สำหรับบำรุงขนหรือเสริมสร้างสุขภาพ นอกจากนี้ เรายังมีอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงตามวัย เช่น อาหารสุนัขโต อาหารลูกสุนัข เป็นต้น

ขนมสัตว์เลี้ยง (Snack & Treat): ถ้าคุณอยากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสัตว์เลี้ยงหรือฝึกสัตว์เลี้ยงให้ทำตามคำสั่งของคุณ การให้ขนมเป็นรางวัลเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพ็ทเดเตอร์มีขนมสัตว์เลี้ยงหลากหลายประเภทสำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ขนมสุนัขและขนมแมวเพื่อสุขภาพ ขนมแสนอร่อยเพื่อกระตุ้นให้สัตว์เลี้ยงทำตามคำสั่ง

อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง (Pet Supplies): อุปกรณ์สัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณได้อย่างสะดวกสบาย เช่น ที่นอนสัตว์เลี้ยง บ้านสัตว์เลี้ยง ภาชนะใส่อาหาร กระเป๋าเป้สัตว์เลี้ยง รถเข็นสัตว์เลี้ยง ของเล่นสัตว์เลี้ยง เป็นต้น การมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลสัตว์เลี้ยงครบครัน ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสัตว์เลี้ยงของคุณ

อุปกรณ์อาบน้ำและตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยง (Bath & Grooming): การอาบน้ำและตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยงเป็นอีกเรื่องสำคัญที่คุณควรใส่ใจ เพราะการดูแลขนและผิวหนังจะช่วยให้สัตว์เลี้ยงสุขภาพดี และลดความเสี่ยงต่อปัญหากับขนหรือผิวหนัง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสายพันธุ์และประเภทของสัตว์เลี้ยงของคุณ

อุปกรณ์ขับถ่าย และห้องน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Toilet): การดูแลสุขอนามัยที่ดีให้สัตว์เลี้ยงอีกสิ่งที่สำคัญคือ การจัดหากระบะทรายและห้องน้ำที่สะอาด เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรศึกษาเกี่ยวกับนิสัยการขับถ่ายตามธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงแต่ละประเภทก่อนซื้อสินค้าใดๆ เพราะสัตว์เลี้ยงนั้นไม่สามารถขับถ่ายเป็นที่เป็นทางเหมือนมนุษย์ อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดว่าต้องการการดูแลพิเศษหรือไม่ และเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการขับถ่ายเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง (Pet Care): ผลิตภัณฑ์ดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การส่งเสริมสุขภาพและสุขอนามัยที่ดีให้กับสุนัขและแมวของคุณจะช่วยให้พวกเขามีความสุขและอยู่กับเราไปได้นาน